วันอาทิตย์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2553

Lecture Notes

Lecture  Notes
Magazine = นิตยสารเป็นประจำมีกำหนดแน่นอน เช่น รายสัปดาห์     รายปักษ์   รายเดือน   รายไตรมาส  รายหกเดือน  รายปี
Carrent = ทันสมัย
Events = การจัดงาน
Oumalists = นักวรสาร
Journals = วารสารวิชาการ
Academic = วิชาการ
Periodieals(Serials) = สิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง
ปีที่ Volume(V./Vol.)
ฉบับที่ Number(No.)
Iss(Imternational  Standurd  Serials  Number)เลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร
หนังสือพิมพ์
-ระดับท้องถิ่น
-ระดับชาติ : ไทยรัฐ
-ระดับนานาชาติ : Washington  Post, New  York  Time
วัสดุย่อส่วน(Microform)
-ไมโครฟิล์ม
-ไมโครฟิช
-ไมโครการ์ด
Encyclopedias =  สารานุกรม คือ หนังสืออ้างอิงชนิดหนึ่ง(,Ref : Reference)ซึ่งให้ความรู้ทั่วไป  ความเป็นมาของเรื่องใดเรื่องหนึ่ง  โดยสังเขป
-ทั่วไป
-เฉพาะวิชา เช่น  ด้านพืชสมุนไพร    ด้านวัฒนธรรม

วันศุกร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2553

Lecture Notes

Auther = ผู้แต่ง
Publisher  and  Place  of  Publicoting = สำนักพิมพ์
Copyright Page = หน้าลิขสิทธิ์
Glossary = อภิทานศัพท์

Index = ดรรนี
ดิวอี้ = การจัดหมวดหมู่
Dewey system ooo =  ความรู้ทั่วไป
 Dewey system 100 =คุณค่าของมนุษย์
Dewey system  200 = ศาสนาต่างๆ
Dewey system  300 =สังคม
Dewey system  400 = ภาษาต่างๆ
Dewey system  500 = ฟิสิกส์,เคมี
Dewey system 600  = วิทยาศาสตร์ประยุกต์
Dewey system 700 = นันทนาการ
Dewey system 800 = วรรณกรรม,วรรณคดี
Dewey system 900 = ประวัติศาสตร์,ภูมิศาสตร์
Call Number  =  เลขเรียกหนังสือ
OPAC(online Public Access Catalogs)= ใช้ค้นหาทรัพยากร(หนังสือ,วารสาร,นสพ,หนังสืออ้างอิง,แผ่นซีดี,เทปโทรทัศน์)ในห้องสมุดเท่านั้น
ISBN  =  เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ
ISSN =   เลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร
Lmprint = พิมลักษณ์(เมืองที่พิมพ์,สำนักพิมพ์หรือโรงพิมพ์,ปีพิมพ์)
Edition  = ครั้งที่พิมพ์

วันพุธที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2553

Lecture 9/12/53

หมวด 100  =  ธรรมะ
หมวด 200  =  ปรัชญา
หมวด 300  =  สังคม
หมวด 400  =  ภาษา
หมวด  500 =  ฟิสิกส์, เคมี
หมวด 600  =  ทุกหมวดหมู่
หมวด 700  =   นันทนาการ
หมวด 800  =   วรรณคดี
หมวด 900  =   ประวัติศาสตร์, ภูมิศาสตร์

OPAC =  ระบบสืบค้นข้อมูลหรือเครื่องสืบค้น
วารสาร = เรียงตามตัวอักษร

วันพฤหัสบดีที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2553

Lecture

Lecture Notes
ที่มาของหัวข้อโปรเจ๊ก
-อาจารย์ผู้สอน
-ผู้เรียน
เงื่อนไขในการทำโปรเจ๊ก
-เนื้อหาไม่น้อยกว่า   10    แผ่น(A4)
-มีข้อมูลจากหนังสือ   วารสารและเว็บไซต์
ข้อควรคำนึงในการเลือกหัวข้อ
-ไม่กว้างหรือไม่แคบเกินไปเหมาะสมกับปริมาณเนื้อหาที่กำหนดและระยะเวลาในการทำ
-มีแหล่งข้อมูลที่เพียงพอ
-ต้องได้แรงบันดาลใจจากภาพยนตร์ที่ได้ชมไปแล้ว
-ต้องไม่ซ้ำกัน
                               

วันพุธที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ข้อคิดที่ได้จากการชมภาพยนตร์

1.ผู้หญิงกับการชอบปิ้ง
2.ความไว้ใจ
3.ฟุ่มเฟือยมากเกินไป
4.ชอบปิ้งแบบผิดๆ
5.มิตรภาพระหว่างเพื่อน
6.ความเดือดร้อนที่ตามมา
7.ความรักของครอบครัว
8.ชอบปิ้งแบบลืมหูลืมตา
9.ความซื้อสัตย์
10.รักการชอบปิ้งมากจึงทำให้เธอเดือดร้อนและมีเจ้าหนี้มาทวงหนี้เธอ

วันศุกร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

Google.com

Google.com
Google.com มีอายุครบครึ่งทศวรรษในปีนี้
ไม่น่าเชื่อว่า ธุรกิจขนาดจิ๋ว ซึ่งก่อเกิดจากมันสมองของนักศึกษาวิชาคอมพิวเตอร์แห่งมหาวิทยาลัย สแตนฟอร์ด 2 นาย จะสามารถถีบตัวเป็น Search Engine ที่มีผู้ใช้บริการมากที่สุดในโลก เพียงชั่วระยะเวลาเพียง 5 ปี
เซอร์ไก บริน (Ser- gey Brin) ขณะอายุ 22 ปี และลาร์รี เพจ (Larry Page) ขณะอายุ 21 ปี ร่วมกันสถาปนา Google.com ในปี 2538 โดยในชั้นแรกใช้ชื่อ Back Rub ห้องพักในมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดของคนทั้งสองแปรสภาพเป็นสำนักงาน ห้องพักของเพจเป็นศูนย์สารสนเทศ ส่วนห้องพักของบรินเป็นสำนักงานธุรกิจ โดยที่ในเวลาต่อมาย้ายสำนักงานไปยัง Menlo Park มลรัฐแคลิฟอร์เนีย Google.com ถือกำเนิด ณ ที่ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นอู่ซ่อมรถ เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2541 ด้วยเงินลงทุน 1 ล้านดอลลาร์อเมริกันที่ระดมจากญาติสนิทและมิตรสหาย
เมื่อ Google.com ถือกำเนิดนั้น ธุรกิจ Dot Com กำลังรุ่งเรืองสุดขีด แต่แล้วภาวะฟองสบู่ของธุรกิจ Dot Com ก็เริ่มแตกในปี 2543 จนธุรกิจ Dot Com กลายเป็นธุรกิจ Dot Gone Google.com สามารถฟันฝ่ามรสุมธุรกิจดังกล่าวนี้ได้อย่างดียิ่ง ไม่เพียงแต่จะอยู่รอดได้เท่านั้น หากยังเติบใหญ่ได้อีกด้วย
เมื่อ Google.com เริ่มให้บริการ Search Engine นั้นในชั้นแรกมีผู้ใช้บริการเพียงวันละ 10,000 รายเศษ ในปัจจุบันมีผู้ใช้บริการมากกว่าวันละ 200 ล้านราย
Search Engine ทำหน้าที่เสมือนหนึ่ง 'ห้องสมุด' ใน Cyberspace ผู้ที่ต้องการแสวงหาความรู้และค้นหาข้อมูล เพียงแต่เข้าสู่ Search Engine และพิมพ์คำไข (Key Words) หรือหัวข้อที่ต้องการค้น Search Engine จะช่วยนำพาไปสู่ Web- sites ต่างๆ ที่สามารถให้ความรู้และข้อมูลตามคำไขหรือหัวข้อที่ค้นนั้น
Google.com ให้ความสนใจในการพัฒนา Indexing Technology เพราะการจัดระบบดรรชนีเป็นหัวใจของ Search Engine ทั้งนี้ Search Engine จะต้องสามารถนำผู้ใช้บริการไปสู่ Website ที่ให้ข้อมูลและความรู้ตรงตามความต้องการของผู้ใช้บริการในเวลาอันรวดเร็ว
Google.com ทุ่มทรัพยากรในการวิเคราะห์เนื้อหา ของ webpage ต่างๆ เพื่อกำหนดคำไข และเพื่อประเมินความ นิยมของผู้ใช้บริการด้วยเหตุดังนี้ Google.com จึงสามารถจัดทำดรรชนีสำหรับ Web Journals เพื่อเสริมประสิทธิภาพในการให้บริการได้
ในด้านหนึ่ง Google.com กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนา Indexing Technology ในอีกด้านหนึ่ง Google.com ให้ความสำคัญในด้านยุทธศาสตร์การตลาด ทั้งนี้เนื่องจาก Google.com อยู่รอดในทางธุรกิจได้ด้วยรายได้จากการโฆษณา โดยที่รายได้จากการโฆษณาเพิ่มพูนตามปริมาณผู้ใช้บริการ ในขณะที่ปริมาณผู้ใช้บริการจะมีมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพการให้บริการของ Google.com เองยุทธศาสตร์ทั้งสองจึงขึ้นต่อกันและกัน และมีผลต่อชะตากรรมของ Google.com
Google.com สนใจศึกษาว่า webpage แต่ละหน้าสมควรโฆษณาสินค้าหรือบริการอะไร การหาโฆษณาของ Google. com จึงมีเป้าหมายเด่นชัด เพราะมิได้เพียงให้ผู้ผลิตสินค้าและบริการได้ประโยชน์เท่านั้น หากต้องการให้ผู้ใช้บริการได้ประโยชน์ด้วย อาทิ ในขณะที่ผู้ใช้บริการกำลังค้นข้อมูลเกี่ยวกับการท่องเที่ยว จะมีโฆษณาบริการนำเที่ยวปรากฏบนจอคอมพิวเตอร์ ฯลฯ ด้วยวิธีการเช่นนี้ Google.com ช่วยให้การโฆษณามีประสิทธิผลเพิ่มขึ้น บริษัทผู้ผลิตสินค้าและบริการพอใจที่จะโฆษณากับ Google.com
การเติบใหญ่ของ Google.com เป็นปรากฏการณ์ที่มีผู้จับตามองมากขึ้น เมื่อ Google.com ก้าวล่วงไปซื้อ Pyra Labs ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์เมื่อต้นปี 2546 วงการธุรกิจเริ่มตั้งคำถามว่า เหตุใดบริษัทผู้ประกอบธุรกิจ Search Engine จึงตัดสินใจซื้อบริษัทผลิตคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์?
Pyra Labs เป็นเจ้าของบริษัท Blogger เมื่อ Google. com ซื้อ Pyra Labs Google.com ย่อมเป็นเจ้าของ Blogger ด้วย
Blogger นอกจากผลิตคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์แล้วยังเป็นเจ้าของ Website อันเป็นที่สิงสถิตของ Weblogs นับล้านใน Cyberspace
Weblogs เน้น Website ส่วนบุคคล ณ ที่ซึ่งผู้อ่านสามารถ เข้าไปสื่อสารด้วยการแลกเปลี่ยนข้อมูล แสดงทัศนวิจารณ์ หรือมี 'บทสนทนา' กับผู้อ่านอื่นๆ โดยปกติจะมี Web Links ด้วย
กระบวนการเติบโตของ Weblogs หรือ Weblogging นอกจากจะมีผลต่อการขยายขนาดของ Cyberspace แล้ว ยังมี ผลต่อวัฒนธรรมการสื่อสารของมนุษย์อย่างสำคัญอีกด้วย Cyberspace กลายเป็นแหล่งความรู้และข้อมูลที่สำคัญยิ่งกว่าห้องสมุดใดๆ การแลกเปลี่ยนความรู้และทัศนวิจารณ์ใน Cyber-space เป็นไปอย่างเสรี ข้อเขียนที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์ถูกถ่ายทอดสู่ Cyberspace ได้โดยง่าย ผ่านการเชื่อมโยงระหว่าง Weblogs ต่างๆ
แต่ Weblogs แตกต่างจากหนังสือพิมพ์ วิทยุ และโทรทัศน์ ข้อเขียนที่ปรากฏบน Weblogs ไม่มีการตรวจสอบว่าเป็นข้อเขียนที่ถูกต้องตรงต่อข้อเท็จจริง ไม่มีกระบวนการบรรณา ธิกรเพื่อให้ภาษาสละสลวย หากจะมีการใช้ภาษาหยาบคาย หรือแม้แต่หยาบโลน ก็เป็นเรื่องคาดการณ์ได้
การปรากฏตัวของ Weblogs ก่อให้เกิด Weblog-sphere หรือ Blogosphere อันเป็นส่วนต่อเติมของ Cyber-space กระบวนการ Weblogging ช่วยขยายต่อเติม Blog-sphere
Google.com ต้องการหาประโยชน์จาก Blogsphere อันกว้างใหญ่ไพศาลอย่างปราศจากข้อกังขา มิฉะนั้นคงไม่ตัดสินใจซื้อ Pyra Labs การซื้อ Pyra Labs ไม่เพียงแต่จะทำให้ Google.com ได้ประโยชน์จาก    เทคโนโลยีที่พัฒนาโดย Pyra Labs และ Blogger เท่านั้น หากยังได้ประโยชน์จาก ข้อมูลเกี่ยวกับ Weblogs ที่ Blogger ครอบครองอีกด้วยข้อมูลเหล่านี้ช่วยขยายต่อเติมฐานข้อมูลที่ Google.com มีอยู่เดิม มิพักต้องกล่าวถึง Interlinks ที่มากับ Weblogs ด้วย
นักสังเกตการณ์จำนวนไม่น้อยเริ่มตั้งข้อสังเกตว่า Google.com อาจอยู่ในกระบวนการปรับโครงสร้าง เพื่อเปลี่ยนโฉมเป็นธุรกิจสื่อสารมวลชน (Media Business) Google.com รุกคืบไปทำสัญญาพันธมิตรเชิงยุทธศาสตร์กับ American Online เมื่อต้นเดือนตุลาคม 2546 ทำให้ข้อคาดการณ์ข้างต้นนี้มีความเป็นไปได้เพิ่มขึ้น ในอีกด้านหนึ่ง Microsoft จับตามองการเติบโตของ Google.com ด้วยและ เริ่มวางแผนที่จะประกอบธุรกิจ Search Engine แข่งกับ Google.com
ครึ่งทศวรรษของ Google.com เป็นครึ่งทศวรรษแห่งการเติบโตที่มีคุณภาพ อย่างน้อยที่สุด แม้แต่ยักษ์ใหญ่ดุจดัง Microsoft ยังต้องเกรงขาม
ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับ Google.com
กำเนิด 7 กันยายน 2541
ผู้ก่อตั้ง Larry Page
Sergey Brin
ความหมาย Google มาจากคำว่า Google
ซึ่งในทางคณิตศาสตร์ หมายถึงเลข 1 ตามด้วยศูนย์อีก 100 ตัว
จำนวนพนักงาน มากกว่า 1,000 คน
จำนวนผู้ใช้บริการ 200 ล้านรายต่อวัน
จำนวนข้อมูล 3,100 ล้าน Web Pages

Confessions Of A Shopaholic

หนังเรื่องนี้เป็นหนังที่เกี่ยวกับผู้หญิงคนหนึ่งที่มีความใฝ่ฝันในตอนเด็กว่ามีสิ่งที่สวยงามสำหรับผู้หญิงมีอยู่รอบๆตัวของเธอและพอเธอโตขึ้นมาเธอก็เป็นผู้หญิงที่สวยมากและชอบในการช็อปปิ้งเป็นอย่างมากและสาเหตุนี้จึงทำให้ผู้หญิงนี้เป็นหนี้บัตรเครดิตหลายใบ    จึงทำให้เจ้าหนี้มาทวงหนี้กับเธอและผู้หญิงคนนี้ก็ได้นำเสื้อผ้ารองเท้า  และของแบรนเนมออกมาขาย   จึงทำให้เค้าคนนี้มีเงินมาใช้หนี้บัตรดิตและตั้งใจในการทำงานและทำให้คนอื่นนับถือเธอ
          หนังเรื่องนี้สอนให้รู้ว่าเราไม่ควรที่จะหลงในสิ่งที่สวยงามหรือของแบรนเนมและทำให้เราเดือดร้อนเป็นหนี้บัตรเครดิต