วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2554

แบบฝึกหัดท้ายบทที่1(วิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ)

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 1
        15. PDA phone คืออะไร จงอธิบายมาพอเข้าใจ
ตอบ คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กพกพาแบบใส่กระเป๋าได้ที่เรียกว่า PDA (Personal Digital Assistant)แต่เดิมเน้นเพื่อการใช้งานสำหรับอรรถประโยชน์ทั่วไป  เช่น  การใช้งานเพื่อธุรกิจ   การใช้งานสำหรับเป็นเครื่องบันทึกช่วยจำต่างๆ รายการนัดหมาย   ปฏิทิน   สมุดโทรศัพท์   เป็นต้น

16.ภาษาธรรมชาติ(natural language)คืออะไร  สามารถนำไปใช้ประโยชน์ด้านใดบ้าง
           ตอบ การเข้าใจภาษาธรรมชาติของมนุษย์(natural language)เป็นการนำเอาความสามารถของคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการสื่อสารกับมนุษย์ให้สะดวกขึ้น   ผู้ใช้เพียงแต่ป้อนข้อมูลคำสั่งด้วยเสียงของตัวเองลงไปแทนการป้อนข้อมูลผ่านคีร์บอร์ดโดยตรงและสามารถนำไปใช้ในทุกๆด้านของคอมพิวเตอร์

14.แท็บเล็ตพีซี (Tablet PC) มีหลักการทำงานอย่างไรบ้าง จงอธิบายมาพอเข้าใจ
ตอบ. เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์แบบใหม่ที่สามารถป้อนข้อมูลเข้าไปได้โดยการเขียนบนจอภาพเสมือนกับ
         การเขียนลงบนกระดาษ หน้าจอสามารถพลิกไปมาได้ 2 ลักษณะคือเหมือนกับการใช้งานคอมพิว
         เตอร์โน๊ตบุ๊คทั่วไปหรือพับแบบกระดาษรองเขียนหนังสือ ซึ่ง เครื่องนี้มีราคาแพงกว่าคอมพิวเตอร์
         รุ่นอื่นๆมาก


10.สายการบินต้นทุนต่ำ (low cost airline) และมีการลดต้นทุนโดนนำเอาคอมพิวเตอร์มาช่วยได้อย่า่่งไร
ตอบ. เป็นสายการบินรูปแบบหนึ่งที่เน้นการลดต้นทุนในการจัดการและบริหารงานให้น้อยที่สุดเพื่อให้
         สามารถแข่งขันกันในเรื่องราคาตั๋วโดยสารให้มีราคาที่ถูกลง จึงทำให้มีคนนิยมใช้บริการจำนวน
         มาก โดยนำเอาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีอันทันสมัยมาช่วยในเรื่องของการรับจองการเดินทาง
         โดยผ่านช่องทางหลายๆ ช่องทาง เช่น โทรศัพท์ อินเทอร์เน็ต โดยไม่จำเป็นต้องออกตั๋วเป็นใบๆ
          ให้กับลูกค้า เพียงแค่แสดงบัตรใดๆที่มีรูปถ่ายซึ่งทางราชการออกให้ก็สามารถเดินทางได้ทันที




1.ลักษณะเด่นของเครื่องคอมพิวเตอร์โดยทั่วไปประกอบด้วยอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ. ลักษณะเด่นของคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยคุณสมบัติพื้นฐานดังนี้
         - ความเป็นอัตโนมัติ
         - ความเร็ว
         - ความถูกต้อง แม่นยำ
         - ความน่าเชื่อถือ
         - การจัดเก็บข้อมูล
         - ทำงานซ้ำๆได้
         - การติดต่อสื่อสาร


3.แท่งคำนวณของเนเปียร์ สร้างขึ้นมาโดยใคร และมีหลักการทำงานอย่างไรบ้าง
ตอบ. สร้างขึ้นโดยนักคณิตศาสตร์ชาวสก๊อตชื่อว่า จอห์น เนเปียร์ มีลักษณะเป็นแท่งไม้ตีเส้นตาราง
        เพื่อเอาไว้คำนวณหาผลลัพธ์


8.ทรายซิสเตอร์กับแผงวงจรรวม เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ. ทรานซิสเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่สร้างขึ้นเพื่อทดแทนการทำงานของหลอดสูญญากาศ โดยมีขนาดเล็ก
         กว่าหลอดสูญญากาศ และยังมีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น แต่เนื่องจากการทำงานที่ซับซ้อนและ
         ต้องการประมวณผลที่เร็วขึ้น จึงทำให้ทรานซิสเตอร์ถูกพัฒนามาเป็น แผงวงจรรวม โดยมีความ
         สามารถที่ดีกว่าเดิม ซึ่งเป็นการนำเอาทรานซิสเตอร์จำนวนนับพันตัวมารวมกันเป็นอุปกรณ์ชิ้นเดียว
         และมีขนาดเล็กลงจึงทำให้ลดต้นทุนในการผลิตลงไปได้มากและเครื่องที่ผลิตได้มีขนาดเล็กลงมาก




12.รูปแบบของ E-banking สามารถ ทำได้ผ่านช่องทางอะไรบ้าง จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างมาประกอบ
ตอบ. ธนาคารทางอิเล็กทรอนิกส์ที่พบเห็นในปัจจุบัน สามารถทำธุรกรรมเกี่ยวกับการเงินได้หลายช่อง
         ทางมาก เช่น
           - ผ่านเครือข่ายอินเตอร์
                        การเข้าไปใช้ระบบ จะมีรายชื่อผู้ใช้( User name ) และรหัสผ่าน ( Pass Word ) ที่ให้เข้า
                        ไปทำธรุกรรมได้ง่ายเพียงปลายนิ้ว บริการดังกล่าวครอบคลุมการทำธรุกรรมคล้ายกับระ
                        บบอื่น เช่น การโอนเงิน การสอบถามยอดเงินคงเหลือ ฯลฯ
           - ผ่านระบบโทรศัพท์อัตโนมัติ
                        ผู้ใช้เพียงกดหมายเลขโทรศัพท์อัตโนมัติที่ธนาคารระบุไว้ในการติดต่อทำธุระกรรม
                        ก็สามารถเลือกทำรายการทางการเงินต่างๆ ได้เช่น การโอนเงิน การเติมเงินมือถือฯลฯ
           - ผู้ตู้ATM
                        ผู้ใช้บริการสามารถเลือกทำรายการธุรกรรมต่างๆ ผ่านตู้ATMที่มีให้บริการของธนาคาร
                        พาณิชย์ต่างๆ ได้ทั่วประเ้ทศ ไม่ว่าจะเป็นการถอนเงินสด ฝากเงิน โอนเงิน และการชำระ
                        ค่าบริการต่างๆ ได้ซึ่งเปิดให้บริการ 24 ช.ม.




                                                                                        อาจารย์ ทาริกา       รัตนโสภา
                                                            น.ส.  อำไพ     พรมวัฒน์    สาขา SME 2/1     เลขที่   21
        

วันพุธที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การเขียนบรรณานุกรม:

นเรศว์  สังข์วรรณะ.(2552).วารสารบริหารธุรกิจ.ปีที่ 32 ฉบับที่ 121 มกราคม-มีนาคม 2552.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

การเขียนบรรณานุกรม:

อดุล จาตุรงคกุล&ดลยา จาตุรงคกุล.(2545).พฤติกรรมผู้บริโภค.โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

การเขียนบรรณานุกรม:

อดุล จาตุรงคกุล&ดลยา จาตุรงคกุล(2545).พฤติกรรมผู้บริโภค.โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.